Omron HEM-7130

Omron เครื่องวัดความดันโลหิตอัติโนมัติ รุ่นท็อป ปี 2018 HEM-7130 แถมฟรี adaptor ชาร์จไฟ

ลดเหลือ ฿1,799.00 จาก ฿4,000.00 ลดถึง 55%

สัญลักษณ์ต่าง ๆ บน Omron HEM-7130 2018

เครื่องวัดความดัน omron ของแท้ 100% รับประกันศูนย์เพิ่มพิเศษเป็น 5ปี วัดได้เร็ว วัดง่ายกดแค่ปุ่มเดียว ใครๆก็ใช้ได้ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ (ชีพจร) และ เตือนเมื่อมีการเต้นผิดปกติแถมฟรี adaptor ชาร์จไฟเครื่องสำหรับใช้กับเครื่องวัดความดัน omron เตือนถ้ามีการเคลื่อนไหว หรือใส่สายรัดไม่ถูกต้อง ขณะวัดความดัน แสดงการเต้นหัวใจที่ผิดจังหวะได้ และ แจ้งเตือนความดันโลหิตสูง

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัญญานบ่งบอกว่าคุณกำลังจะเป็นความดัน

โรคความดันโลหิตสูงนั้น เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่อาจมากหน่อยในกลุ่มของผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตทั้งตัวเอง และผู้สูงอายุในความดูแลว่ามีอาการเสี่ยงต่อโรค ดังต่อไปนี้หรือไม่ 

 

1. ปวดศีรษะ (อาการโรคความดันสูง) ปกติความดันโลหิตของคนเราจะมีมาตรฐานที่เราคุ้นเคยกันว่า มีตัวเลข 2 ตัว เช่น 110/80 แต่ถ้าเกิดภาวะ Hypertensive crisis ขึ้นคือความดันขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ มากกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท เจ้าตัวมักมีอาการปวดศีรษะ เป็นอาการปวดแบบมึนๆ และปวดตลอดวัน บางครั้งเป็นมากถึงขนาดคลื่นไส้อาเจียนก็เป็นได้ และอาจปวดมากขึ้นในเวลาถ่ายอุจจาระอาการปวดหัวแบบผิดปกติเหล่านี้ อย่าชะล่าใจคิดว่ากินยาแก้ปวดซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านเดี๋ยวก็หาย
2. เลือดกำเดาไหล (อาการโรคความดันสูง) จริงๆ อาการเลือดกำเดาไหลนั้น อาจเกิดจากเส้นเลือดฝอยในจมูกแตก อาจเกิดจากร่างกายต้องปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ความกดดันอากาศ ร้อนไป หนาวไป หรืออื่นๆ ก็ได้ แต่การเลือดกำเดาไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอาการปวดศีรษะควบคู่ด้วยนั้น เป็นลักษณะที่เป็นผลพวงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น ภาวะของคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสจะทำให้ผู้ป่วยเลือดกำเดาออกถึง 17% ทีเดียวดังนั้น หากมีเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ พึงสำเหนียกและเข้ารับการตรวจก่อนที่จะสายเกินไป
3. อาการมึนงง (อาการโรคความดันสูง) เป็นอีกอาการหนึ่งที่อาจสืบเนื่องมาจากป่วยเป็นความดันโลหิตสูง แน่นอนว่า บางครั้งอาจเกิดจากภาวะเครียด นอนไม่พอจนมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง สมองตื้อ แต่ก็นั่นแหละในเมื่อเป็นอาการบ่งชี้เรื่องความดันสูงอย่างหนึ่ง หากมีอาการบ่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุอื่นก็ต้องสงสัยไว้ก่อนว่า เป็นอาการของโรคความดันโลหิตสูงแน่ๆ
4. ตามัว (อาการโรคความดันสูง) เป็นอาการเปลี่ยนแปลงของจอรับภาพของผู้ป่วย ซึ่งคนที่เป็นความดันสูงมักมีปัญหาทางสายตาควบคู่กันไปด้วยอาการตามัวนั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นกันได้ง่ายๆ หากไม่ใช่เพราะมีปัญหาเรื่องสายตา ปัญหาในการมองเห็น ก็ต้องนึกถึงโรคความดันโลหิตสูงนี่แหละ
5. เหนื่อยง่าย หายใจหอบ (อาการโรคความดันสูง) อาการเหนื่อยหอบนั้นหมายถึงการที่หัวใจเต้นแรงผิดปกติ หายใจเข้าออกเร็วๆ ถี่ๆ มีอาการเพลีย อาจเกิดขณะทำงาน หรือออกกำลังกายหนักๆ จนร่างกายเหนื่อยล้าเกินกำลัง และนำไปสู่อาการหัวใจล้มเหลวก็เป็นได้ ดังจะเห็นว่า แม้แต่ผู้ที่กำลังออกกำลังกาย บางทีก็เกิดอาการเฉียบพลัน แล้วเกิดเส้นเลือดในสมองแตก เนื่องเพราะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นพื้น
อย่างไรก็ตามควรได้ตรวจเช็คสุขภาพประจำทุกปี เพราะหากมีโรคอะไรเกิดขึ้นจะได้รักษาหรือควบคุมไว้ก่อน ไม่ปล่อยจนมีเหตุฉุกเฉิน และนำไปสู่ภาวะที่ร้ายแรง เพราะอาจต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นความทุกข์ทรมานในการมีชีวิต นอกจากนั้น หากพบความผิดปกติทั้ง 5 สัญญาณอาการโรคความดันสูงที่กล่าวมา ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายเช่นกัน อย่าคิดเองว่า คงไม่เป็นไร กินยาเดี๋ยวก็หาย เพราะโรคความดันโลหิตสูงนั้น เริ่มจากอาการเหมือนไม่ได้เป็นอะไร แต่ความร้ายแรงนั้น อาจรุนแรงกว่าโรคร้ายอื่นๆ ด้วยซ้ำ เพราะไม่ตายแต่อยู่อย่างทุกข์ทรมานตลอดชีวิตแล้วยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้อีก
Credit : http://sukkaphap-d.com
Read More

วิธีอ่านค่าจากเครื่องวัดความดัน

วิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้ค่าความดันโลหิตที่ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด การวัดความดันโลหิตมี 2 วิธีคือการวัดความดันโลหิตโดยตรงจากหลอดเลือดแดง((Invasive Blood Pressure หรือ IBP) กับการวัดความดันโลหิตทางอ้อม

(Non-invasive Blood Pressure หรือ NIBP) ซึ่งวิธีวัดความดันเลือดจากหลอดเลือดแดงโดยตรงนั้นเหมาะกับผู้ป่วยวิกฤติที่มีความดันเลือดต่ำมากอยู่ในภาวะช็อคไม่สามารถวัดความดันเลือดโดยวิธีวัดความดันโลหิตทางอ้อม(NIBP) ได้ ดังนั้นในที่นี่จะขอพูดถึงเฉพาะวิธีวัดความดันโลหิตแบบทางอ้อมโดยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ (Automatic blood pressure measurement) ที่ทำได้สะดวกกว่า


ค่าความดันโลหิตที่วัดได้จะถูกต้องเพียงใดขึ้นอยู่กับ
  1. ปัจจัยด้านผู้ป่วย ว่าผู้ป่วยมีการเตรียมตัวมาพร้อมหรือไม่ เช่น ก่อนการวัดความดันโลหิตผู้ป่วยควรนั่งพักประมาณ 5-10 นาทีเพราะการวัดความดันโลหิตขณะที่กำลังเหนื่อย ตื่นเต้น เครียด ตกใจ จะทำให้ผลการวัดไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ก่อนการวัดความดันโลหิตผู้ป่วยมีการดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่หรือกินยาบางชนิดมาหรือไม่เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้ผลการวัดความดันโลหิตไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงได้เช่นกัน
  2. ปัจจัยทางด้านเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้วัดความดันโลหิตเป็นแบบใด เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท(Sphygmomanometer) หรือเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ (Automatic blood pressure measurement) เครื่องวัดความดันโลหิตจะต้องผ่านการตรวจเช็คมาตรฐานมาแล้ว อีกทั้งขนาดของผ้าพันแขน (Arm cuff) เหมาะสมกับแขนของผู้ป่วยหรือไม่โดยปกติส่วนที่เป็นถุงลมยางของผ้าพันแขนจะต้องสามารถคลุมรอบแขนของผู้ป่วยได้ 80 %
  3. ปัจจัยทางด้านการวัดและวิธีการวัด เช่นผู้วัดความดันโลหิตได้รับการฝึกอบรมการใช้เครื่องวัดมาอย่างถูกต้องหรือไม่ การพัน Arm cuff แน่นหรือหลวมเกินไปหรือไม่ ถ้าเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอทผู้วัดลดระดับปรอทเร็วเกินไปและการฟังเสียงถูกต้องหรือไม่ การวัดความดันโลหิต 2 ครั้งย่อมได้ผลที่ถูกต้องมากกว่าการวัดเพียงครั้งเดียว อีกทั้งความตั้งใจของผู้ทำการวัดความดันโลหิตก็มีผลต่อความถูกต้องของค่าความดันโลหิตเช่นกัน
การตรวจวัดระดับความดันโลหิต การเตรียมผู้ป่วยคนที่จะเข้ารับการตรวจวัดความดันโลหิตก่อนทำการวัด 30 นาที ไม่ควรดื่มชา กาแฟหรือสูบบุหรี่ ควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย ให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงโดยวางเท้าทั้ง 2 ข้างราบกับพื้นแล้ววางแขนข้างที่ต้องการวัด(ควรเป็นแขนซ้าย) บนโต๊ะหงายฝ่ามือขึ้นไม่ต้องกำมือหรือเกร็งแขนให้ปล่อยแขนตามสบาย ใช้ผ้าพันแขน(Arm cuff) พันโดยให้ขอบล่างของผ้าพันแขนอยู่เหนือข้อพับประมาณ 2-3 ซม.โดยให้จุดที่รับสัญญาณอยู่ตรงกลางแขนด้านในแล้วติดเทปให้พอดีอย่ารัดผ้าพันแขนจนแน่นหรือหลวมเกินไป กดปุ่ม START/STOP บนเครื่องวัดความดันแล้วรอสักครู่จนตัวเลขแสดงผลบนหน้าจอหยุดนิ่งจึงอ่านค่าความดันโลหิตที่วัดได้จากตัวเลขบนหน้าจอ เพื่อความแน่ใจควรวัดความดันโลหิตซ้ำอีกครั้งจะได้ผลดีกว่าโดยทิ้งช่วงห่างประมาณ 5-10 นาทีก่อนจะวัดความดันโลหิตซ้ำอีกครั้ง

วิธีอ่านค่าเครื่องวัดความดัน ผลจากเครื่องวัดความดันจะได้ตัวเลขออกมา 3 ค่าเช่น  1. SYS = 118 mmHg  2. DIA = 79 mmHg และ 3. PUL = 75 bpm อธิบายได้ว่า 1. SYS คือค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวมีค่าเท่ากับ 118 มม.ปรอท 2. DIA คือค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวมีค่าเท่ากับ 79 มม.ปรอทและ 3. PUL คืออัตราการเต้นของหัวใจมีค่าเท่ากับ 75 ครั้ง/นาที สรุปได้ว่าวัดค่าความดันโลหิตได้เท่ากับ 118/79 มม.ปรอท เมื่อเทียบกับค่าความดันปกติ(<120/80 มม.ปรอท) นั่นคือความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ก็ควรวัดความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง แต่หากค่าความดันโลหิตที่วัดออกมาได้สูงกว่าค่าความดันปกติก็หมายความว่าผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่การที่จะยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจริงต้องมีวิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องซึ่งอาจต้องทำการวัดอย่างน้อย 3 ครั้งโดยแต่ละครั้งต้องเว้นช่วงห่างกันประมาณ 1-2 สัปดาห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงไม่มากและไม่พบเห็นความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ที่ถูกทำลายจากโรคความดันโลหิตสูง

ความสำคัญของการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องแม่นยำ (Accurate Measurement) หากการวัดความดันโลหิตมีข้อผิดพลาดซึ่งอาจจะเกิดจากหลายๆ ปัจจัยที่ทำให้ค่าความดันโลหิตที่ได้มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นทั้งที่สูงไปหรือต่ำไปแม้เพียง 5 มม.ปรอทก็ทำให้เกิดความเสียหายได้เช่น ถ้าการวัดค่าความดันโลหิต Diastolic blood pressure (ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว) ต่ำกว่าความเป็นจริง 5 มม.ปรอทจะทำให้มีผู้ป่วยที่ถูกละเลยการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่สมควร ในขณะที่ค่าความคลาดเคลื่อนของความดันโลหิต Diastolic blood pressure ที่สูงกว่าความเป็นจริง 5 มม.ปรอท จะทำให้เกิดการรักษาคนปกติที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่จำเป็น ดังนั้นเพื่อให้ได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้องตามความเป็นจริงการวัดความดันโลหิตจึงควรใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้มาตรฐานและทำการวัดโดยเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้วเท่านั้น

credit : http://bpcontrol120-80.com/
Read More

ข้อดีและข้อเสียของเครื่องมือวัดความดันแบบดิจิตอล


ในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มที่จะมีการใช้เครื่องมือวัดแบบดิจิตอลเพิ่มมากขึ้นเพิ่มวัดปริมาณต่างๆ เช่นน้ำหนัก, ความยาว, อุณหภูมิ, ความชื้น, แรงดันไฟฟ้า, ความเร็วรอบและระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือวัดแบบดิจิตอลสำหรับการวัดความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจและอื่น ๆ
ข้อดีของเครื่องมือวัดแบบดิจิตอล
1. อ่านค่าได้ง่ายมาก
2. เนื่องจากมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวน้อย จึงมักจะมีความแม่นยำมากกว่าเครื่องมือวัดแบบอะนาล็อก แม้ข้อผิดพลาดของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านค่าจากเครื่องมือวัดแบบดิจิตอลนมีน้อยมาก ซึ่งจะเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ
3. เครื่องมือวัดแบบดิจิตอลถูกกว่าเครื่องมือวัดแบบอะนาล็อก
4. สามารถบันทึกข้อมูลจากเครื่องมือวัดเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต
5. เอาท์พุทของเครื่องมือวัดแบบดิจิตอลสามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

ข้อเสียของเครื่องมือวัดแบบดิจิตอล
1. บางครั้งเครื่องมือวัดแบบดิจิตอลมักจะระบุค่าผิดพลาดเนื่องจากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ชำรุดหรือจอแสดงผลเสียหาย
2. ในกรณีที่มีความชื้นสูงและมีฤทธิ์กัดกร่อนอาจทำให้ชิ้นส่วนภายในเสียหาย และแสดงค่าที่ผิดพลาดได้
3. บางครั้งเครื่องมือวัดแบบดิจิตอลอาจจะแสดงการอ่านค่าบางอย่าง แม้ว่าจะไม่มีพารามิเตอร์ที่สามารถวัดได้
Read More

สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง

ร่างกายทุกๆ คนความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตจะเป็น แรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพราะฉะนั้น ทุกคนควรจะเรียนรู้ ศึกษาเกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่ง เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นอยู่กับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90   ถ้าหากสูงกว่านี้แสดงว่า คุณอาจจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ต้องมี
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไตโรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มี อาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสูง

ในยุคสมัยนี้ผู้คนนิยมการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้งหลายก่อนที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพแบบชุดใหญ่ หลายคนอาจจะคิดอยากหาเครื่องมือวัดความดันโลหิตมาไว้ใช้เองที่บ้าน ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ การ แพทย์บริเวณใกล้ๆ โรงพยาบาลหรือแม้แต่ร้านค้าออนไลน์บนเครือข่ายอินเตอร์เนท หากจะว่ากันด้วยเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องวัดความดันโลหิต  ก่อนซื้อต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานของการวัดความดันเสียก่อน ในปัจจุบันค่าการตรวจวัดความดันโลหิตบ้านเราใช้หลักของอเมริกา คือ
  • ถ้าความดันน้อยกว่า 120/80 ถือว่าปกติ ควรวัดซ้ำทุก 2 ปี
  • ถ้าความดัน 120-139/80-89 ถือว่าไม่เป็นโรค แต่เกือบๆ จึงควรวัดซ้ำทุก 1 ปี
  • ถ้าความดันมากกว่า 140/90 ถือว่าเป็นโรค ควรปรึกษาแพทย์และต้องวัดซ้ำภายใน 2 เดือน
ดังนั้น ถ้าเราไม่เป็นโรคความดันโลหิต  ก็ไม่จำเป็นต้องวัดบ่อยๆ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่อง
แต่หากเป็นโรคความดันโลหิตแล้ว ข้อดีของการมีเครื่องวัดความดันโลหิต คือ ทำให้เราใส่ใจความดันตัวเองและกินยาสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บางคนเวลาไปวัดความดันที่สถานพยาบาลความดันจะสูงเกินจริง (Whitecoat hypertension) ทำให้หลงรักษาผิดทาง แต่พอวัดที่บ้านกลับไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อย
ถ้าจะถามว่าแบบไหนดีจริงๆ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะข้อเท็จจริงความดันโลหิตเรา วัดทางอ้อม (ถ้าวัดทางตรงต้องแทงแท่งวัดเข้าไปในเส้นเลือด) และเดิมใช้เครื่องวัดปรอทเป็นหลัก วัดตรงตำแหน่งต้นแขนเหนือข้อพับ เพราะในท่ายืนหรือนั่งจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับหัวใจ ดังนั้น ข้อมูลการวิจัยเกือบทั้งหมดใช้การวัดเหนือข้อพับและที่สถานพยาบาลก็ใช้วิธีเดียวกัน หากเราใช้ต่างวิธีอาจได้ค่าที่ไม่เหมือนกันหรือไม่ควรนำค่ามาเปรียบเทียบกัน เพราะแม้แต่วัดที่เดียวกันหลายๆ ครั้ง แต่ละครั้งก็ไม่เท่ากัน ยิ่งคนละที่ยิ่งไปกันใหญ่วัดข้างขวามักจะสูงกว่าวัดข้างซ้ายเหล่านี้เป็นต้น
ดังนั้น โดยมาตรฐานแล้ว วัดที่เหนือข้อพับเป็นหลัก แต่เครื่องวัดที่ข้อมือก็พยายามเทียบให้ได้ค่าใกล้เคียง แต่ก็ยังไม่นับเป็นมาตรฐานและที่สำคัญถึงวัดที่ข้อมือ เวลาวัดก็ควรวางข้อมือให้อยู่ในระดับใกล้เคียงหัวใจด้วยเช่นกัน
Read More

ประเภทของเครื่องวัดความดันโลหิต

ปัจจุบันมีหลายครอบครัวที่มีเครื่องวัดความดัน(blood Pressure Monitor) ติดไว้ประจำบ้าน ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อมาก เช่น Omron, Terumo, Panasonic เป็นต้น แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าเครื่องวัดความดันมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง วันนี้เราเลยสรุปแบบเข้าใจง่ายมาให้อ่านกันค่ะ

ความดันโลหิตคืออะไร
การไหลเวียนของเลือดดัน หรือเสียดสีกับผนังหลอดเลือด ความแรงของการผลักดันของเลือดนี้เรียกว่า “ความดันโลหิต” หากเกิดความดันโลหิตสูงมากเกินไป จะทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นในหลอดเลือดแดง และหัวใจ ซึ่งอาจจะนำไปสู่โรคหัวใจ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนั้นการมีเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ประจำบ้านที่มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ความดันโลหิตสูงมักจะไม่แสดงอาการมาก่อนหรือมีสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นความดันโลหิตสูงวิธีเดียวที่จะทราบได้นั่นก็คือการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตในการตรวจวัดนั่นเอง

เครื่องวัดความดันโลหิต มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
Mercury sphygmomanometer blood pressure
1. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท (Mercury sphygmomanometer)
เป็นครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นหลักและได้มาตรฐาน แม้สารปรอทจะมีความอันตรายแต่เครื่องวัดความดันโลหิตที่ออกแบบมาเพื่อใช้ที่บ้านนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง
ข้อดี
– เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีการใช้งาหนง่ายที่สุด
– การวัดผลแม่นยำ
ข้อเสีย
– การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องมือนี้ผู้วัดที่มีสายตาไม่ดี อาจทำให้ผลการวัดไม่แม่นยำเนื่องจากการอ่านค่าวัดความดันด้วยเครื่องชนิดนี้แท่งปรอทจจะต้องอยู่ในระดับสายตาอ่านค่าวัดความดัน
– ผู้ที่ไม่สามารถบีบลมได้เต็มที่ทำให้ค่าความความดันมีความคลาดเคลื่อน
– หากสารปรอทมีการรั่วอาจเกิดอันตรายจากสารปรอท
– ไม่สะดวกต่อการพกพาเนื่องจากเครื่องวัดความดันชนิดนี้มีขนาดใหญ่
– เครื่องวัดความดันชนิดปรอทจะต้องตั้งอยู่บนพื้นเรียบเท่านั้น

2. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดขดลวด (Aneroid equipment)
Aneroid blood pressure
ข้อดี
–  สะดวกต่อการพกพาไปนอกสถานที่
–  ราคาไม่สูงมากนัก
– ตัวเครื่องวัดความดันมีน้ำหนักเบาง่ายต่อการพกพา
ไม่จำเป็นจะต้องวางในระดับสายตา หรือพื้นเรียบ
ข้อเสีย
– การใช้งานค่อนข้างซับซ้อนมากกว่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท ทำให้การใช้งานลำบากหากใช้ผิดเครื่องอาจชำรุดเสียหาย
– การซ่อมบำรุงเครื่องจะต้องตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละครั้ง

3. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล (Automatice quipment)
blood pressure monitor omron
ข้อดี
– การใช้ง่ายสะดวกสบายใช้งานง่ายเพราะไม่จำเป็นต้องบีบลม และไม่มีหูฟัง
– พกพาสะดวก
– ผู้ที่สายตาไม่ดี การได้ยินไม่ชัดเจน เช่นผู้สูงอายุก็สามารถใช้ง่ายได้โดยไม่เกิดความคลาดเคลื่อนของค่าวัดความดัน
– มีหน้าจอแสดงผลความดัน และอัตราการเต้นของหัวใจ
– มีสายพันสองแบบคือ สายพันข้อมือ และสายพันแขน นอกจากนี้ยังสามารถพิมผลที่วัดได้ด้วย
ข้อเสีย
– ต้องมีการตรวจสอบตัวเครื่องวัดความดันโลหิตเป็นประจำเพื่อผลที่แม่นยำในการวัดทุกครั้ง
– เครื่องมีความคงทนน้อยกว่า 2 ชนิดที่กล่าวมา ชำรุดง่าย
– ราคาค่อนข้างสูง
Read More

การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต



บางท่านความดันโลหิตสูงไม่มาก  หรือกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น ความดันโลหิตจะสูง  เมื่ออยู่ที่บ้านแพทย์จะแนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้าน ปัญหาคือท่านจะเลือกเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดไหนดี   เนื่องจากในท้องตลาดขณะนี้มี เครื่องวัดความดันหลายยี่ห้อ  และหลายรุ่นมาก

คำแนะนำก่อนที่ท่านจะซื้อเครื่องวัดความดันมาใช้ที่บ้าน

1. ใช้เครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติ (เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล)
หาก ท่านไม่ใช่บุคคากรทางการแพทย์แล้ว การวัดความดันด้วยเครื่องวัดความดันแบบปรอทคงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก  ดังนั้นเครื่องวัดแบบอัตโนมัติ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งสะดวกใช้งานได้ง่าย
2. เครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติ ระหว่างเครื่องวัดความดันที่ต้นแขน และ เครื่องวัดความดันที่ข้อมือ เลือกแบบไหนดี
คำถามนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของท่าน
เครื่องวัดความดันโลหิตที่ต้นแขน
เครื่องวัดความดันโลหิตที่ต้นแขน

เครื่องวัดความดันที่ต้นแขน  จะได้ค่าความดันโลหิตที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด  เนื่องจากอยู่ใกล้หัวใจ และอยู่ระดับเดียวกับหัวใจมากที่สุด  แต่พกพาไม่สะดวกเท่าเครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือ
เครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือ
เครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือ
เครื่องวัดความดันที่ข้อมือ  จะให้ความสะดวกเพราะจะมีระบบสูบลมและคลายลมอัตโนมัติ พันสายรัดที่ข้อมือได้ง่าย และที่สำคัญคือพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก  สามารถนำมาใช้ได้ทันที  เวลาวัดก็ควรวางข้อมือให้อยู่ในระดับใกล้เคียงหัวใจด้วยเช่นกัน
โดย มาตรฐานแล้วการวัดความดันจะวัดที่เหนือข้อพับเป็นหลัก  แต่เครื่องวัดความดันที่ข้อมือก็พยายามเทียบให้ได้ค่าใกล้เคียง   แต่ก็ยังไม่นับเป็นมาตรฐานและที่สำคัญถึงวัดที่ข้อมือ  เวลาวัดก็ควรจะวางข้อมือให้อยู่ในระดับใกล้เคียงหัวใจด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ไม่ได้สรุปว่าการวัดที่ต้นแขนดีกว่า แต่เป็นมาตรฐานกว่าเท่านั้น
3. ความถี่ในการใช้งาน
หากท่านจำเป็นต้องการใช้งานบ่อย  ควรเลือกเครื่องวัดความดันแบบที่มี adaptor เพื่อเป็นการประหยัดแบตเตอรี่
4. เลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่ผ่านการรับรอง เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องวัดความดัน นั้นได้มาตรฐาน ซึ่งปกติ เครื่องวัดความดัน ที่ได้มาตรฐานจะมีสัญลักษณ์เช่น CE (European Conformity:CE) หรือเครื่องหมาย UL (Underwriters’ Laboratories :UL) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือนั้นได้รับการออกแบบและผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อบังคับอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป หรือดูที่เครื่องหมาย มอก. มาตรฐานประเทศไทย เป็นต้น
5. งบประมาณและจำนวนสมาชิกที่ต้องใช้เครื่องวัดความดัน
ถ้าท่านมีงบประมาณจำกัดและใช้เครื่องวัดแค่คนเดียว  เลือกเครื่องวัดความดันที่ได้มาตรฐานเพื่อใช้งานก็เพียงพอ  ไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นมาก
หาก ท่านที่มีงบประมาณมากหรือมีสมาชิกที่ต้องใช้ร่วมด้วย  ควรเลือกแบบที่มีฟังก์ชั่นการใช้งาน เช่น Memory  บันทึก ระบุ วัน เวลา เป็นต้น   เครื่องวัดความดันยี่ห้อเดียวกันแต่ราคาต่างกัน  ขึ้นกับหน่วยความจำ และ ฟังก์ชั่น ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
6. ระยะเวลาในการรับประกันของเครื่องวัดความดันในแต่ละแบรนด์ / รุ่น

คำแนะนำในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต

  • ไม่ควรวัดความดันทันทีหลังอาหารมื้อหลัก ควรห่างอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่หรือเครื่องก่อนทำการวัด
  • ไม่ควรวัดขณะที่ร่างกายเหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย หรือมีอารมณ์เครียด
  • ถ้า ใช้เครื่องวัดความดันที่ต้นแขน ให้วัดในท่านั่ง วางแขน และข้อศอกบนโต๊ะ จัดระดับให้ผ้าพันต้นแขน หรือผ้าพันข้อมืออยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
  • ถ้าใช้เครื่องวัดความดันที่ข้อมือ ให้วัดในท่านั่ง วางข้อมือให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
Credit : healthcare.9dee.com

Read More
More
รีวิวจากผู้ใช้งาน

ส่งของไวมาก สิ้นค้าคุณภาพทุกอย่างโอเค ขอบคุณค่ะ แถมถ่านดูราเซล4ก้อนและยังใช้ไฟบ้านผ่านอะแดปเตอร์ได้ ราคาถูกกว่าซื้อตปท. ยี่ห้อนี้เคยซื้อจากญี่ปุ่น ผลการอ่านเชื่อถือได้

ส่งของไวมาก - Patomthep S

ส่งของเร็วได้รับของไว และบรรจุภัณฑ์แข็งแรงดูแน่นหนา และก็การใช้งานไม่ค่อยยุ่งยาก ใช้ง่ายดี ขนาดกระทัดรัด ไม่เหมาะกับคนเข็นใหญ่น่ะ รอบแขนประมาณ 22 -23 ซม. กำลังดีเลย

ใช้งานง่ายดี - Thammanoon S.

ขนาดเครื่องกระทัดรัด ใช้งานง่าย พกพาสะดวก ส่งของได้รวดเร็ว กล่องไม่บุบ มีใบประกันให้เรียบร้อย แลถือว่าถูกกว่าที่เราไปซื้อที่ร้านขายยามากอยู่ สรุปโอเคเลย

ราคาถูกใช้งานได้ดีทีเดียว - พูลสวัสดิ์ อ.

จัดส่งไวและสินค้าคุณภาพเป็นไปตามที่ระบุไว้เลย เคยสั่งซื้อไปแล้วครั้งนึงส่งไวได้ของถูกใจเลยกลับมาสั่งอีก เหมาะสมกับราคาดี ช่วงนี้ราคาโปรโมชั่นเลยได้ของดี

จัดส่งไว - Sidvasu T.

ด่วนมีโปรโมชั่นส่วนลดถึง 55%